บทความ

รูปภาพ
  เฟือง  (Gear) เป็นเครื่องกลที่ทำงานโดยการหมุน เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว คาดว่าตั้งแต่ยุคที่มนุษย์เริ่มมีอารยธรรมและคิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นมา เฟืองก็เป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่ถูกมนุษย์ทำขึ้นมา โดยเริ่มต้นที่เฟืองไม้ในยุคโบราณ แต่สำหรับเฟืองสมัยใหม่นั้นเพิ่งมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงลักษณะดังที่เราเห็นเมื่อไม่กี่ร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เฟืองทำขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการ ใช้สำหรับการส่งกำลังในลักษณะของแรงบิด ( Torque) โดยการหมุนของตัวเฟืองที่มีฟันอยู่ในแนวรัศมี โดยการส่งกำลังจะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีฟันเฟืองตั้งแต่สองตัวขึ้นไป

เหมืองเรือขุด (Dredging)

รูปภาพ
  ลูกกะพ้อ ( Bucket Dredge) หรือลูกกระเชอ ชิ้นส่วนใช้ขุดตักแร่เหมืองเรือขุด (Dredging)  ใช้ขุดแร่ที่อยู่ใต้น้ำ  เหมืองเรือขุด ( Dredging) การทำเหมืองโดยใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ทำเหมืองติดตั้งบนเรือหรือโป๊ะ และขุดแร่ปนดินด้วยเครื่องตัก หรือลูกกะพ้อ ( Bucket Dredge) เครื่องขุดหรือเครื่องสูบที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อสูบ 14 นิ้วขึ้นไป แล้วนำแร่ปนดินทรายไปเข้ารางกู้แร่หรืออุปกรณ์แต่งแร่ กระบวนการทำงาน - เครื่องขุดแร่อันได้แก่บันใด ( Ladder) ซึ่งมีพวงลูกกระเชอเคลื่อนที่วางอยู่ ตะแกรงหมุน ( Trommel) สำหรับคัดขนาดดินกรวดทราย เครื่องล้างแร่ได้แก่ จิ๊ก ( Jigs) หรือรางกู้แร่ ( Palongs) และรางปล่อยมูลดินทรายทิ้ง เรือตามที่กล่าวมานี้เป็นเรือขุดชนิดที่เรียกกันว่า เรือขุดใช้ลูกกระเชอ ( Bucket Dredge) ซึ่งนิยมใช้ขุดแร่ดีบุก ในลานแร่ เรือขุดใช้ก้ามปู ( Grab Dredge) วิธีการทำงานของเรือขุดใช้ลูกกระเชอยุ่งยากหรือซับซ้อน บันใดพวงลูกกระเชอทางหัวเรือขยับขึ้นลงได้ เพื่อให้ลูกกระเชอขุดดินกรวดทรายกะสะหรืออู่เรือขุดได้ตามระดับที่ต้องการ ดินกรวดทรายที่ลูกกระเชอขุดขึ้นมาแต่ละลูกจะถูกเทลงที่รับทางปลายด้านบนของ
รูปภาพ
  จิ๊ก ( JIG separator ) มักใช้แยกแร่ในแหล่งลานแร่เช่นเดียวกับรางกู้แร่ มีส่วนประกอบสำคัญสองส่วนคือ ส่วนที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมของน้ำ ( Pulsating Water Stream) กับส่วนที่เป็นตัวจิ้กซึ่งพื้นบุด้วยตะแกรงที่มีตัวกลางเป็นลูกเหล็ก หรืออาจไม่มีตัวกลางก็ได้ การทำงานของจิ๊กประกอบด้วยการเคลื่อนตัวของลูกสูบขึ้นลงทำให้กระแสน้ำพวยพุ่งผ่านตะแกรงขึ้นด้านบนของส่วนที่บรรจุแร่ที่จะแยก แรงยกของน้ำทำให้แร่ที่หนักใกล้เคียงกันเรียงตัวในชั้นเดียวกัน แร่หนักจะตกตัวลงด้านล่างส่วนแร่เบากว่าจะอยู่ด้านบนแล้วไหลไปตามน้ำผ่านตัวจิ๊กไป โดยใช้ความแตกต่างของความถ่วงจําเพาะ ( Gravity Concentration) มักใช้แต่งแร่ที่มีความถ่วงจําเพาะสูง (เช่น แร่ตะกั่วกาลีนา มี ถ.พ. = 7.5) จนถึงแร่ทีมีความถ่วงจําเพาะตํ่า (เช่น ถ่านหิน มี ถ.พ. = 1.3) วิธีนี้ เป็นวิธีที่ได้ใช้กันมามากกว่าครึ่งศตวรรษ แม้ว่าต่อมาได้มีการพัฒนานําเอาวิธีการลอยแร่เข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันก็ยังคงนําวิธีการแต่งแร่ด้วยวิธีนี้มาใช้ในการแต่งแร่งเหล็ก วุลแฟรม ดีบุก เป็นต้น สําหรับประเทศไทยการ แต่งแร่ด้วยวิธีนี้นิยมใช้ในการแต่งแร่ดีบุก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจ